Month: February 2022

OR ฟันกำไร 11.4 ล้าน ผลประกอบการปี 2564

OR เผยผลประกอบการปี 2564 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 11,474 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30.5% แม้ในไตรมาส 4 อัตรากำไรในกลุ่มธุรกิจ Mobility จะอ่อนตัวลงจากภาวะกดดันในการปรับราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการ แต่ในไตรมาส 4 กลุ่มธุรกิจ Lifestyle ยังคงแข็งแกร่ง และในปี 2564 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน” น.ส.จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยถึงผลการดำเนินการปี 2564 มีรายได้ขายและบริการ 511,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.4% จากปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 11,474 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,683 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30.5% ทั้งจากรายได้ขายและบริการ และ EBITDA ที่เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติให้เสนอจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานครึ่งหลังของปี

CWT ดัน “ชัยวัฒนา กรีน แมนเนจเม้นท์” ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล

  “ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป” ไฟเขียวบริษัทลูก “ชัยวัฒนา กรีน แมนเนจเม้นท์” รุกธุรกิจใหม่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เข้าศึกษาการสร้างเหมืองขุดบิตคอยน์จากการใช้พลังงานหมุนเวียน (Green Bitcoin Mining) ที่มีอยู่ในกลุ่มบริษัท ด้านผู้บริหารสั่งลุยเต็มที่ มองเห็นโอกาสจากกำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนเกิน ต้นทุนค่าไฟต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบรับนโยบาย Net Zero และการประชุม COP26 หวังสร้าง New S Curve ผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CWT) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทย่อยมีมติให้บริษัท ชัยวัฒนา กรีน แมนเนจเม้นท์ จำกัด ดำเนินการขอเพิ่มวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมศึกษาการนำกำลังการผลิตส่วนเกินที่เหลืออยู่ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อนำมาใช้เป็น Green Bitcoin Mining รองรับนโยบาย Net Zero หรือเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย “การขุดบิตคอยน์นั้นใช้พลังงานอย่างมหาศาลถึง

ซีไอเอ็มบี ไทย ลุยขยายโปรแกรมรีไฟแนนซ์ดอกเบี้ย 3 ปี 2.39%

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย คาดสินเชื่อบ้านจะกลับมาฟื้นไตรมาสแรกนี้ เดินหน้าขยายโปรแกรมรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.39% ต่อปี หลังลูกค้าตอบรับดี ดันยอดสินเชื่อใหม่พุ่ง 50% วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 นายเอกสิทธิ์ พฤฒิพลากร ผู้บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เริ่มเห็นสัญญาญที่ดีของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่แล้วเริ่มจะเห็นกำลังซื้อกลับมามากขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการชะลอการออกโครงการใหม่ ๆ ทำให้สต๊อกบ้านทรงตัวมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ประกอบกับระยะนี้ราคาบ้านมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จึงเชื่อมั่นว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ น่าจะกลับมาเติบโตได้ 10-15% ในปีนี้ เช่นเดียวกับธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะกลับมาฟื้นตัวภายในไตรมาสแรกปีนี้ สินเชื่อยังคงล้อไปกับการขยายตัวของจีดีพีที่น่าจะอยู่ประมาณ 3% – 4%ในปี 2565 แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเรื่องการระบาดของโอไมครอน แต่ก็ยังเชื่อว่าถ้าคนไทยได้รับบูสเตอร์หรือวัคซีนเข็มที่ 3 ในปริมาณที่มากพอ สินเชื่อบ้านก็น่ายังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีรับการตอบรับในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป   ทั้งนี้ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี

อภินิหาร 5 หุ้น บจ. ขุดเหมืองคริปโตพุ่งแรงสวนตลาด-เก็งกำไรสูง

ส่องอภินิหาร 5 หุ้น บจ. ประกาศขุดเหมืองคริปโต ราคาพุ่งสวนดัชนีตลาด ระหว่างวันตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกโรงเตือนนักลงทุนระมัดระวัง “เก็งกำไร” สูง ประกาศ “AJA-ECF” เป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย “เอเซีย พลัส” ชี้เป็นกระแสเก็งกำไรจากภาวะที่ตลาดขาดปัจจัยหนุน-กรณี “รัสเซีย-ยูเครน” กดดัน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บจ.) ที่มีการประกาศทำธุรกิจขุดเหมืองสินทรัพย์ดิจิทัล (Cryptocurrency Mining) ราคาวิ่งขึ้นอย่างร้อนแรง สวนทางดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่เป็นตัวแดง โดย SET Index และ mai Index ปิดตลาดช่วงเข้าปรับตัวลดลง 0.77% และ 0.94 % ปิดตลาดสิ้นวันปรับตัวลดลง 0.85% และ 0.65% ตามลำดับ 1.บริษัท ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (มหาชน) (UPA)

เคาะแพกเกจส่งเสริมรถอีวี บอร์ดฯ จ่อชง ครม.ลดภาษีนำเข้า-สรรพสามิต พร้อมจ่ายเงินอุดหนุน

คณะกรรมการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าฯ (บอร์ดอีวี) เตรียมเสนอ ครม. พิจารณามาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้รถยนต์อีวีในประเทศไทย โดยจะลดทั้งภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิต พร้อมให้เงินอุดหนุนเพื่อให้ราคาถูกลง มีเงื่อนไขผู้ได้สิทธิต้องตั้งโรงงานในไทยด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย เริ่มมีความชัดเจนแล้ว และคาดว่าคณะกรรมการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (บอร์ดอีวี) จะเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาได้เร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะลดภาษีเป็นแพกเกจ ทั้งภาษีนำเข้ารถยนต์ ซึ่งปัจจุบันมีความแตกต่างกันอยู่ในหลายภูมิภาค เช่น บางประเทศเก็บ 0% บางประเทศ 20-40% ให้ลดลงมาในระดับที่แข่งกันกันได้ รวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิตจะปรับลดลงด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีส่วนการสนับสนุนเป็นตัวเงินในรูปแบบเงินอุดหนุน เพื่อทำให้ราคาจำหน่ายรถยนต์ในประเทศถูกลง เป็นการส่งเสริมคนไทยมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หากรวมมาตรการทางภาษี กับเงินอุดหนุนแล้ว จะทำให้ราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าลดลงมาได้เยอะ เช่น ขนาดใหญ่ อาจจะมีส่วนลดมากกว่า 150,000 บาท ขณะที่รถขนาดเล็กอาจจะมีส่วนลดราคาหลายหมื่นบาท อย่างไรก็ตาม มาตรการสนับสนุนรถอีวีจะไม่ได้เป็นการลดภาษี หรือมีเงินอุดหนุนแบบให้เปล่า เพื่อให้ซื้อรถยนต์ราคาถูกอย่างเดียว แต่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศในระยะยาว โดยผู้ประกอบการรถยนต์ที่จะเข้าร่วมใช้สิทธิจะต้องมีเงื่อนไขเข้ามาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทยด้วย เพราะมาตรการนี้มีเจตนาหลักต้องการ ให้เกิดการลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาแทนรถยนต์พลังงานสันดาป เช่น หากบริษัทไหนเข้าร่วมมาตรการ และจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าได้ 100,000

GISTDA ดันวิทยาศาสตร์อวกาศร่วมทดลอง ส่งผัดกะเพราไปกับบอลลูน high-altitude

นายตติยะ ชื่นตระกูล รองผู้อำนวยการด้านสร้างเสริมพันธมิตรและเครือข่ายองค์ความรู้ของ GISTDA กล่าวว่า การทดลองทางวิทยาศาสตร์อวกาศด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ครั้งนี้ของ GISTDA และพันธมิตร จะใช้เป็นต้นแบบและแนวทางในการทดลองงานวิจัยทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ หรือเป็นการสร้างแพลตฟอร์มการทดลองงานวิจัยด้วยบอลลูน ที่เรียกว่า High-Altitude Experiment Platform ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการทดลองงานวิจัยในอวกาศ (Space Experiment Platform) ของ GISTDA เพิ่มเติมจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการให้บริการการส่งงานวิจัยไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS และห้องปฏิบัติการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (Micro-X) ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ซึ่งการทดลองครั้งนี้ นอกจากจะสร้างรูปแบบการศึกษาวิจัยที่ไม่ได้อยู่ในห้องแล็บหรือบนพื้นโลกแล้ว ยังเป็นต้นแบบการพัฒนาใช้ประโยชน์ห้วงอากาศที่มีความสูงที่เลยเพดานบินขึ้นไปและไม่ถึงอวกาศ คืออยู่ระหว่าง 30-100 กิโลเมตรจากพื้นโลก ซึ่งนับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย และการใช้บอลลูนขนาดใหญ่ครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการตั้งฐานวิจัยหรือฐานส่งจรวดในห้วงอากาศสูงให้แก่ประเทศต่อไปในอนาคต การศึกษาในครั้งนี้ นอกจากเราจะใช้อาหารในการทดสอบแล้ว เรายังสามารถนำงานด้านชีวะและฟิสิกส์มาทดลองได้ด้วย อาทิ การทดลองทำฟาร์มลอยฟ้าในอวกาศด้วยบอลลูนเพื่อรับบรรยากาศที่สะอาดกว่าบนพื้นโลก และอาจจะนำไปสู่แนวความคิดใหม่ๆ ของการวิจัยและการทดลองทางเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เฉพาะดาวเทียมเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การทดลองรับส่งสัญญาณของระบบนำทาง การติดตามหรือขับเคลื่อนรถยนต์จากชั้นบรรยากาศอวกาศ ซึ่งเราอาจเรียกรวมๆ ได้ว่า “เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน high altitude platform ของประเทศ อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดได้ในเชิงเศรษฐกิจและยกระดับการรับรู้ของสังคมให้รับรู้ว่าการทดลองงานวิจัยด้านอวกาศ การทดลองในเทคโนโลยีอวกาศ ที่เป็นเรื่องธรรมดาและไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป” ซึ่งใครๆ